WELCOME! to my blog.....Aintira_airry ;))

วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554

RAM กับ ROM

RAM

RAM เป็นอุปกรณ์หนึ่งที่มีความสำคัญต่อการทำงานของคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่ในการเก็บข้อมูลและชุดคำสั่งเพื่อให้กับหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ใช้ในการประมวลผล ทำให้การทำงานหรือประมวลผลข้อมูลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ RAM ย่อมาจากคำว่า Random-Access Memory เป็นหน่วยความจำสำรองของระบบคอมพิวเตอร์ มีหน้าที่รับข้อมูลเพื่อส่งไปให้ CPU ประมวลผล

 

หลักการทำงานของ RAM
 RAM ทำหน้าที่เก็บชุดคำสั่งและข้อมูลที่ระบบคอมพิวเตอร์กำลังทำงานอยู่ไม่ว่าจะเป็นการนำเข้าข้อมูล ( Input ) หรือ การนำออกข้อมูล ( Output ) โดยเนื้อที่ของ RAM ได้ถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ

1. Input Storage Area เป็นส่วนที่เก็บข้อมูลนำเข้าที่ได้รับมาจากหน่วยรับข้อมูลเข้า เช่น ข้อมูลที่ได้มาจากคีย์บอร์ด เป็นต้น โดยข้อมูลนี้จะถูกนำไปใช้ในการประมวลผลต่อไป

2. Working Storage Area เป็นส่วนที่เก็บข้อมูลที่อยู่ในระหว่างการประมวลผล

3. Output Storage Area เป็นส่วนที่เก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล ตามความต้องการของผู้ใช้ เพื่อรอที่จะถูกส่งไปแสดงออกยังหน่วยแสดงผลอื่นที่ผู้ใช้ต้องการ เช่นจอภาพ เป็นต้น

4. Program Storage Area เป็นส่วนที่ใช้เก็บชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการจะส่งเข้ามา เพื่อใช้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติตามคำสั่งชุดดังกล่าว หน่วยควบคุมจะทำหน้าที่ดึงคำสั่งจากส่วนนี้ทีละคำสั่งเพื่อทำการแปลความหมาย ว่าคำสั่งนั้นสั่งให้ทำอะไร

ประเภทของ RAM
RAM โดยทั่วไปแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

1. Static Random Access Memory ( SRAM )            คือ RAM ซึ่งเก็บรักษาข้อมูลบิตไว้ในหน่วยความจำของมันตราบเท่าที่ยังมีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงอยู่ ไม่เหมือนกับดีแรม (DRAM) ที่เก็บข้อมูลไว้ในเซลซึ่งประกอบขึ้นด้วยตัวเก็บประจุหรือคาปาซิเตอร์ (Capacitor) และทรานซิสเตอร์ (Transistor)

2. Dynamic Random Access Memory ( DRAM )
          คือRAMหรือหน่วยความจำชนิดปกติสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีและเครื่องเวิร์คสเตชั่น(Workstation)ลักษณะของDRAMจะเป็นคล้ายกับเครือข่ายของประจุไฟฟ้าที่เครื่องคอมพิวเตอร์ใช้เก็บข้อมูลในรูปของ0”และ1”ที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายๆ         ประเภทของ DRAM ในท้องตลาดแบ่งได้เป็น 4 ประเภทหลัก

                                2.1)  FPM DRAM

                                           เป็น RAM ชนิดที่ใช้กับ PC ในยุคเริ่มต้น โดยมีรูปแบบคือ SIMM (Single Inline Memory Modules) ปกติจะมีแบบ SIMM ละ 2, 4, 8, 16 และ 32 MB โดยมีค่า refresh rate ของวงจรอยู่ที่ 60 และ 70 nana sec. โดยค่า refresh ที่น้อยกว่าจะความเร็วมากกว่า

                                2.2)  EDO DRAM

                                เป็นชนิดที่ปรับปรุงมาจาก FPM โดยมีการปรับปรุงเรื่องการอ่านข้อมูล โดยทั่วไปแล้วการอ่านข้อมูลจาก RAM จะต้องระบุตำแหน่งแนวตั้ง และแนวนอนให้แก่วงจร RAM ถ้าเป็นชนิด FPM แล้วต้องระบุแนวใดแนวหนึ่งให้เสร็จเสียก่อน แล้วจึงระบุอีกแนวหนึ่ง แต่ EDO สามารถระบุค่าตำแหน่งในแนวตั้ง (CAS) และแนวนอน (RAS) ได้ในเวลาที่ใกล้เคียงกัน หรือพร้อมกันได้

                                 2.3)  SDRAM

                    เป็น RAM ชนิดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน โดย 1 DIMMs จะมี 168 ขา และส่งข้อมูลได้ทีละ 64 บิต ทำให้ SDRAM แผงเดียวก็สามารถทำงานได้ เวลาในการเข้าถึงข้อมูลของ SDRAM จะมีค่าประมาณ 6-12 n Sec. ปัจจุบัน SDRAM สามารถทำงานได้ที่ความถี่ 66, 100 และ 133 MHz


                                2.4)RAMBUS

                    พัฒนามาจาก DRAM แต่มีการออกแบบสถาปัตยกรรมภายในใหม่ทั้งหมด มีการเปลี่ยนแปลงระบบการเข้าถึงข้อมูลภายใน RAM ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยใช้หลักการ “Pre-fetch” หรืออ่านข้อมูลล่วงหน้าโดยระหว่างนั้น CPU สามารถทำงานอื่นไปพร้อม กันด้วย packet ของ RAMBUS จะเรียกว่า RIMMs (Rambus Inline Memory Modules) ซึ่งมี 184 ขา

บทสรุป
RAM เป็นอุปกรณ์หนึ่งที่มีความสำคัญต่อการทำงานของคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่ในการเก็บข้อมูลและชุดคำสั่งเพื่อให้กับหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ใช้ในการประมวลผล ทำให้การทำงานหรือประมวลผลข้อมูลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ROM
รอม (ROM: Read-only Memory หน่วยความจำอ่านอย่างเดียว) เป็นหน่วยความจำแบบสารกึ่งตัวนำชั่วคราวชนิดอ่านได้อย่างเดียว ใช้เป็นสื่อบันทึกในคอมพิวเตอร์ เพราะไม่สามารถบันทึกซ้ำได้

ระบบฐานข้อมูล (DATABASE SYSTEMS)

ระบบฐานข้อมูล (Database) หมายถึง กลุ่มของข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันและถูกนำมาจัดเก็บในที่เดียวกัน โดยข้อมูลอาจเก็บไว้ในแฟ้มข้อมูลเดียวกันหรือแยกเก็บหลาย  แฟ้มข้อมูล แต่ต้องมีการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลเพื่อประสิทธิภาพในการจัดการข้อมูลในการจัดเก็บข้อมูลในระบบฐานข้อมูลมีข้อดีกว่าการจัดเก็บข้อมูลในระบบแฟ้มข้อมูลพอสรุปประเด็นหลัก  ได้ดังนี้
· มีการใช้ข้อมูลร่วมกัน (data sharing)
· ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล (reduce data redundancy)
· ข้อมูลมีความถูกต้องมากขึ้น (improved data integrity)
· เพิ่มความปลอดภัยให้กับข้อมูล (increased security)
· มีความเป็นอิสระของข้อมูล (data independency)
ชนิดของความสัมพันธ์
ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล ซึ่งมี ชนิด ดังนี้
 1. แบบหนึ่งต่อหนึ่ง
       ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง เป็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งหนึ่งกับสิ่งหนึ่งที่มีเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น เช่น อธิการบดีมีหน้าที่บริหารมหาวิทยาลัยเพียงมหาวิทยาลัยเดียวและในมหาวิทยาลัยนั้น ๆ จะมีอธิการบดีบริหารงานในขณะนั้น ๆ เพียงคนเดียวเช่นกัน สามารถเขียนเป็นไดอะแกรมได้ดังนี้




2. แบบหนึ่งต่อกลุ่ม
   ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อกลุ่ม เป็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งหนึ่งกับสิ่งหนึ่งที่มีเพียงหนึ่งกับอีกด้านหนึ่งเป็นกลุ่ม เช่น สมาชิกผู้บริจาคโลหิตสามารถบริจาคโลหิตได้หลาย ๆ ครั้งและการบริจาคนั้นบริจาคโดยสมาชิกคนเดียว สามารถเขียนเป็นไดอะแกรมได้ดังนี้

3. แบบกลุ่มต่อกลุ่ม
ความสัมพันธ์แบบกลุ่มต่อกลุ่ม เป็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งหนึ่งกับสิ่งหนึ่งที่มีได้หลาย ๆ อย่าง เช่น นักศึกษาสามารถลงทะเบียนเรียนได้หลาย ๆ รายวิชาและในแต่ละรายวิชามีนักศึกษาลงทะเบียนเรียนได้หลาย ๆ คน สามารถเขียนเป็นไดอะแกรมได้ดังนี้


การจำลองข้อมูล
 การจำลองข้อมูลแบบเครือข่าย ได้พัฒนาขึ้นเพื่อแก้ปัญหาของการจำลองข้อมูลแบบลำดับชั้น แต่ยังคงยึดหลักการ ความเป็นลำดับชั้นเหมือนเดิมแต่ได้ปรับปรุงคุณสมบัติการเชื่อมโยงให้โหนดลูกสามารถติดต่อกับโหนดแม่ได้ หลาย ๆ โหนด ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ แบบกลุ่มต่อกลุ่ม การเชื่อมโยงที่เพิ่มขึ้นมาเราเรียกว่า ตัวชี้  ดังนั้นการเข้าถึงแต่ละโหนดสามารถเข้าไปได้หลายทาง

การจำลองข้อมูลในระบบการจัดการฐานข้อมูล มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเครื่องมือสื่อสารระหว่างผู้ใช้ข้อมูลสนเทศกับผู้ออกแบบฐานข้อมูล และผู้ออกแบบฐานข้อมูลกับโปรแกรมเมอร์ให้เข้าใจตรงกัน การจำลองข้อมูลใช้เทคนิคการใช้รูปภาพไดอะแกรมแทน ความหมาย  การจำลองข้อมูลมีหลายชนิด ได้แก่ แบบลำดับชั้น แบบเครือข่ายและแบบเชิงสัมพันธ์  ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้



    1. แบบลำดับชั้น
    การจำลองข้อมูลแบบลำดับชั้น  มีลักษณะโครงสร้างของข้อมูลและระเบียนเป็นโหนด  มีลักษณะเหมือนกับกิ่งก้านสาขาเช่นเดียวกับต้นไม้ ในแต่ละโหนดจะมีโหนดแม่และมีโหนดลูก  ความสัมพันธ์ของข้อมูลแบบลำดับชั้นมีลักษณะเป็นแบบหนึ่งต่อกลุ่ม


2. แบบเครือข่าย
 การจำลองข้อมูลแบบเครือข่าย ได้พัฒนาขึ้นเพื่อแก้ปัญหาของการจำลองข้อมูลแบบลำดับชั้น แต่ยังคงยึดหลักการ ความเป็นลำดับชั้นเหมือนเดิมแต่ได้ปรับปรุงคุณสมบัติการเชื่อมโยงให้โหนดลูกสามารถติดต่อกับโหนดแม่ได้ หลาย ๆ โหนด ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ แบบกลุ่มต่อกลุ่ม การเชื่อมโยงที่เพิ่มขึ้นมานั้นเราเรียกว่า ตัวชี้  ดังนั้นการเข้าถึงแต่ละโหนดสามารถเข้าไปได้หลายทาง  


3. แบบเชิงสัมพันธ์


การจำลองข้อมูลแบบเชิงสัมพันธ์  มีองค์ประกอบที่ยืดหยุ่นมากกว่าฐานข้อมูลอื่น ๆ ซึ่งโครงสร้างของข้อมูลจะไม่มีลำดับชั้นลงมาด้านล่าง แต่ข้อมูลจะเก็บอยู่ในตารางหลาย ๆ ตารางที่บระกอบด้วยแถวและคอลัมน์โดยที่แต่ละตารางจะมีความสัมพันธ์กันเรียกความสัมพันธ์นั้นว่า รีเลชั่น

 
    
บทสรุป
    ฐานข้อมูลเป็นแหล่งเก็บข้อมูลจำนวนมาก ๆ เมื่อนำข้อมูลที่เก็บอยู่ภายในฐานข้อมูล นำมาประมวลผลโดยการนับ รวบรวม จัดกลุ่ม จำแนก หาค่าเฉลี่ยหรือคิดเป็นร้อยละ แล้วแสดงผลลัพธ์ออกมาเป็นกราฟจะได้เป็นสารสนเทศ และนำสารสนเทศที่ได้ ไปใช้ในการตัดสินใจ ของผู้บริหารองค์กรจะทำให้ผู้บริหารองค์กรติดสินใจได้ถูกต้องการบริการลูกค้ามีความสะดวก รวดเร็ว ลูกค้ามีความพึงพอใจองค์กรมีการพัฒนาก้าวหน้าต่อไปได้










 

วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2554

Internet

ประวัติของอินเตอร์เน็ต

     อินเตอร์เน็ตกำเนิดขึ้นเมื่อประมาณปี ค.ศ.1969 หรือประมาณปี พ.ศ. 2512 โดยพัฒนามาจาก อาร์พาเน็ต (ARPAnet) ซึ่งเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายใต้ความรับผิดชอบของหน่วยงานโครงการวิจัยขั้นสูง (Advanced Research Projects Agency) หรือเรียกชื่อย่อว่า อาร์พา (ARPA) ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา (Department of Defense) จุดประสงค์ของโครงการอาร์พาเน็ต เพื่อสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่คงความสามารถในการติดต่อสื่อสารถึงกันได้
     สำหรับประเทศไทย ได้เริ่มมีการติดต่อเชื่อมโยงเข้าสู่อินเตอร์เน็ตใน พ.ศ. 2535 โดยเริ่มที่สำนักวิทยบริการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อมาในปี พ.ศ.2536 เนคเทคได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 64 กิโลบิตต่อวินาที ซึ่งช่วยเพิ่มความสามารถในการขนถ่ายข้อมูล ทำให้ประเทศไทยมีวงจรสื่อสารระหว่างประเทศ 2 วงจร หน่วยงานต่าง ๆ ที่เข้าร่วมเชื่อมโยงเครือข่ายในระยะแรก ได้แก่ สถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ และต่อมาได้ขยายไปยังหน่วยงานราชการอื่น ๆ

สำหรับภาคเอกชน ได้มีการก่อตั้งบริษัทสำหรับให้บริการอินเตอร์เน็ตแก่เอกชนและบุคคลทั่วไป ที่นิยมเรียกกันว่า ISP (Internet Service Providers)

อินเตอร์เน็ต คือ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งเกิดจากระบบคอมพิวเตอร์เครือข่ายย่อย ๆ หลาย ๆ เครือข่ายรวมตัวกันเป็นระบบเครือข่ายขนาดใหญ่


รูปแบบการให้บริการของ ISP ไม่ว่าจะเป็น ISP ใดจะให้บริการแก่บุคคลทั่วไปเหมือนกัน 3 แบบใหญ่ ๆ คือ
1. แบบบุคคลธรรมดา (Individual, Dial-Up)

2. แบบนิติบุคคล (Corporate)

3. แบบพิเศษ (Special Service) เช่นการให้บริการทำ Web, เช่าพื้นที่บน Server Free E-mail

วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554

ระบบสื่อสาร

žรูปแบบการสื่อสารข้อมูลอย่างง่าย



žองค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบการสื่อสารข้อมูล
  • ­ ข้อมูล/ข่าวสาร
  • ­ ผู้ส่งสาร
  • ­ ผู้รับ
  • ­ ตัวกลางในการส่งข้อมูล
  • ­ โปรโตคอล

วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Google Doc

    google docs คือโปรแกรมจัดการเอกสารออนไลน์ของ Google  เอกสารที่ทำงานแบบเว็บ สเปรดชีต และงานนำเสนอที่ผู้ใช้สามารถแก้ไขไฟล์เดียวกันได้พร้อมกัน
สาเหตุที่เลือก

  • สามารถเข้าถึงงานได้ทุกที่ ทุกเวลา

  • ทำงานได้ในหลายระบบปฏิบัติการ

  • การควบคุมการเข้าถึงที่ปลอดภัย
 เราสามารถตั้งค่าการแบ่งปันได้  หากจะให้เอกสารที่สร้างขึ้นเผยแพร่ทางเว็บได้โดยเลือกเมนู
สาธารณะทางเว็บ
 
โดยสามารถนำโค้ดที่ได้ไปวางในเว็บไซต์ หรือวางในเว็บบล็อกก็ได้   หรือแบ่งปันลิงค์  ที่ได้ทางอีเมล์ ,face book,twitter ฯลฯ   หากว่าทำรายงานเป็นกลุ่ม  ก็ส่งลิงค์ของงานเอกสารให้เพื่อน ๆ เข้ามาร่วมแก้ไขได้

ขั้นตอนเข้าใช้งาน
ตัวอย่างการสร้างไฟล์เอกสาร

     เลือกที่เมนู สร้างใหม่ เพื่อสร้างไฟล์เอกสารขึ้นมาใหม่ และเลือก เอกสาร  จะปรากฏหน้าต่างให้สร้างงานเอกสารขึ้นมา


สามารถบันทึกไว้ใน google doc หรือว่าดาวน์โหลดมาเก็บไว้ที่เครื่อง หรือแบ่งปัน  โดยการเผยแพร่ทางเว็บได้



      
ข้อดี
  • ไม่ต้องติดตั้งโปรแกรม
  • ใช้งานง่ายเหมือน office
  • Share เอกสารได้โดยไม่ต้องส่งเอกสารไปทาง e-mail หรือ save ใส่ thumbdrive
  • ทำงานบนเอกสารเดียวกัน ขณะเดียวกันได้ครั้งละหลายคน
ข้อเสีย
  • การ Sync และการแชร์ลิงค์ที่ง่าย สะดวกรวดเร็วก็ทำให้ข้อมูลออกสู่สาธารณชน ได้ง่ายไม่เหมาะสมกับข้อมูลที่เป็นส่วนตัวหรือข้อมูลที่เป็นความลับ
  • ต้องมีการเชื่อมต่อ Internet อยู่ตลอดเวลาเพื่อที่จะ Sync แก้ไขงาน หรือ ใช้งาน
จุดเด่น
  • สะดวกที่จะใช้งาน ผู้ใช้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆเพื่อทดลองใช้
  • เพิ่มความคล่องตัว โดยข้อมูลที่ Sync แล้วผู้ใช้สามารถเข้าถึงเอกสารดังกล่าวได้จากบราวเซอร์จากพีซี หรือเน็ตคาเฟ่ต่างๆ ตลอดจนสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตด้วยบริการของ Google Docs
  • ผู้ใช้สามารถแชร์ลิงค์ของเอกสารให้กับผู้ใช้ Google คนอื่นๆ ได้  ทำให้สามารถแก้ไขเอกสารตัวเดียวกันได้พร้อมกันได้
โปรแกรมที่มีการทำงานคล้ายกับGoogle Doc
     Microsoft Office   จะทำงานเฉพาะตนเองเท่านั้น ส่วน Google Doc ทำงานเฉพาะตนเองเหมือนกันแต่เป็นการทำงานได้ทั้งแบบออฟไลน์  และออนไลน์ แชร์ไฟล์กับผู้อื่นได้  ทำงานเป็นกลุ่มเป็นทีมได้