WELCOME! to my blog.....Aintira_airry ;))

วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554

ระบบฐานข้อมูล (DATABASE SYSTEMS)

ระบบฐานข้อมูล (Database) หมายถึง กลุ่มของข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันและถูกนำมาจัดเก็บในที่เดียวกัน โดยข้อมูลอาจเก็บไว้ในแฟ้มข้อมูลเดียวกันหรือแยกเก็บหลาย  แฟ้มข้อมูล แต่ต้องมีการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลเพื่อประสิทธิภาพในการจัดการข้อมูลในการจัดเก็บข้อมูลในระบบฐานข้อมูลมีข้อดีกว่าการจัดเก็บข้อมูลในระบบแฟ้มข้อมูลพอสรุปประเด็นหลัก  ได้ดังนี้
· มีการใช้ข้อมูลร่วมกัน (data sharing)
· ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล (reduce data redundancy)
· ข้อมูลมีความถูกต้องมากขึ้น (improved data integrity)
· เพิ่มความปลอดภัยให้กับข้อมูล (increased security)
· มีความเป็นอิสระของข้อมูล (data independency)
ชนิดของความสัมพันธ์
ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล ซึ่งมี ชนิด ดังนี้
 1. แบบหนึ่งต่อหนึ่ง
       ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง เป็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งหนึ่งกับสิ่งหนึ่งที่มีเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น เช่น อธิการบดีมีหน้าที่บริหารมหาวิทยาลัยเพียงมหาวิทยาลัยเดียวและในมหาวิทยาลัยนั้น ๆ จะมีอธิการบดีบริหารงานในขณะนั้น ๆ เพียงคนเดียวเช่นกัน สามารถเขียนเป็นไดอะแกรมได้ดังนี้




2. แบบหนึ่งต่อกลุ่ม
   ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อกลุ่ม เป็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งหนึ่งกับสิ่งหนึ่งที่มีเพียงหนึ่งกับอีกด้านหนึ่งเป็นกลุ่ม เช่น สมาชิกผู้บริจาคโลหิตสามารถบริจาคโลหิตได้หลาย ๆ ครั้งและการบริจาคนั้นบริจาคโดยสมาชิกคนเดียว สามารถเขียนเป็นไดอะแกรมได้ดังนี้

3. แบบกลุ่มต่อกลุ่ม
ความสัมพันธ์แบบกลุ่มต่อกลุ่ม เป็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งหนึ่งกับสิ่งหนึ่งที่มีได้หลาย ๆ อย่าง เช่น นักศึกษาสามารถลงทะเบียนเรียนได้หลาย ๆ รายวิชาและในแต่ละรายวิชามีนักศึกษาลงทะเบียนเรียนได้หลาย ๆ คน สามารถเขียนเป็นไดอะแกรมได้ดังนี้


การจำลองข้อมูล
 การจำลองข้อมูลแบบเครือข่าย ได้พัฒนาขึ้นเพื่อแก้ปัญหาของการจำลองข้อมูลแบบลำดับชั้น แต่ยังคงยึดหลักการ ความเป็นลำดับชั้นเหมือนเดิมแต่ได้ปรับปรุงคุณสมบัติการเชื่อมโยงให้โหนดลูกสามารถติดต่อกับโหนดแม่ได้ หลาย ๆ โหนด ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ แบบกลุ่มต่อกลุ่ม การเชื่อมโยงที่เพิ่มขึ้นมาเราเรียกว่า ตัวชี้  ดังนั้นการเข้าถึงแต่ละโหนดสามารถเข้าไปได้หลายทาง

การจำลองข้อมูลในระบบการจัดการฐานข้อมูล มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเครื่องมือสื่อสารระหว่างผู้ใช้ข้อมูลสนเทศกับผู้ออกแบบฐานข้อมูล และผู้ออกแบบฐานข้อมูลกับโปรแกรมเมอร์ให้เข้าใจตรงกัน การจำลองข้อมูลใช้เทคนิคการใช้รูปภาพไดอะแกรมแทน ความหมาย  การจำลองข้อมูลมีหลายชนิด ได้แก่ แบบลำดับชั้น แบบเครือข่ายและแบบเชิงสัมพันธ์  ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้



    1. แบบลำดับชั้น
    การจำลองข้อมูลแบบลำดับชั้น  มีลักษณะโครงสร้างของข้อมูลและระเบียนเป็นโหนด  มีลักษณะเหมือนกับกิ่งก้านสาขาเช่นเดียวกับต้นไม้ ในแต่ละโหนดจะมีโหนดแม่และมีโหนดลูก  ความสัมพันธ์ของข้อมูลแบบลำดับชั้นมีลักษณะเป็นแบบหนึ่งต่อกลุ่ม


2. แบบเครือข่าย
 การจำลองข้อมูลแบบเครือข่าย ได้พัฒนาขึ้นเพื่อแก้ปัญหาของการจำลองข้อมูลแบบลำดับชั้น แต่ยังคงยึดหลักการ ความเป็นลำดับชั้นเหมือนเดิมแต่ได้ปรับปรุงคุณสมบัติการเชื่อมโยงให้โหนดลูกสามารถติดต่อกับโหนดแม่ได้ หลาย ๆ โหนด ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ แบบกลุ่มต่อกลุ่ม การเชื่อมโยงที่เพิ่มขึ้นมานั้นเราเรียกว่า ตัวชี้  ดังนั้นการเข้าถึงแต่ละโหนดสามารถเข้าไปได้หลายทาง  


3. แบบเชิงสัมพันธ์


การจำลองข้อมูลแบบเชิงสัมพันธ์  มีองค์ประกอบที่ยืดหยุ่นมากกว่าฐานข้อมูลอื่น ๆ ซึ่งโครงสร้างของข้อมูลจะไม่มีลำดับชั้นลงมาด้านล่าง แต่ข้อมูลจะเก็บอยู่ในตารางหลาย ๆ ตารางที่บระกอบด้วยแถวและคอลัมน์โดยที่แต่ละตารางจะมีความสัมพันธ์กันเรียกความสัมพันธ์นั้นว่า รีเลชั่น

 
    
บทสรุป
    ฐานข้อมูลเป็นแหล่งเก็บข้อมูลจำนวนมาก ๆ เมื่อนำข้อมูลที่เก็บอยู่ภายในฐานข้อมูล นำมาประมวลผลโดยการนับ รวบรวม จัดกลุ่ม จำแนก หาค่าเฉลี่ยหรือคิดเป็นร้อยละ แล้วแสดงผลลัพธ์ออกมาเป็นกราฟจะได้เป็นสารสนเทศ และนำสารสนเทศที่ได้ ไปใช้ในการตัดสินใจ ของผู้บริหารองค์กรจะทำให้ผู้บริหารองค์กรติดสินใจได้ถูกต้องการบริการลูกค้ามีความสะดวก รวดเร็ว ลูกค้ามีความพึงพอใจองค์กรมีการพัฒนาก้าวหน้าต่อไปได้










 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น